ดีไซน์ออกแบบบ้านใหม่ใช้หลังคาแบบไหนดี
ดีไซน์ออกแบบบ้านใหม่ใช้หลังคาแบบไหนดี หลังคาบ้านมักเป็นสิ่งแรกที่หลายคนให้ความสนใจและเป็นสิ่งที่สำคัญกับตัวบ้านอย่างมาก เนื่องจากจะช่วยดูแลปกป้องจากลม ฝน แดด และสภาพอากาศที่แปรปวนต่าง ๆ สร้างความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวให้ให้กับผู้อาศัย เมื่อต้องออกแบบดีไซน์บ้านหลังนึงเจ้าของบ้านจึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกหลังคาบ้านเป็นอันดับแรก
ซึ่งการเลือกหลังคาบ้านในปัจจุบัน หลังคาบ้านเองก็มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไปแต่ทั้งนี้ควรคำนึงจากความสวยงาม ความแข็งแรง ทนทาน สามารถตอบโจทย์การใช้งาน ในบทความนี้จะพาคุณมาทำความรู้จักกับหลังคาบ้านที่นิยมดีไซน์ออกแบบบ้านเพื่อประกอบตัดสินใจกันค่ะ
หลังคาบ้านทรงเพิงแหงนหรือหลังคาแหงน (Lean to Roof)
หลังคาบ้านทรงเพิงแหงนหรือหลังคาแหงนมีที่มาจากหลังคาที่สร้างแบบง่าย ๆ ของเพิงพักชั่วคราวในไร่ โดยหลังคาเพิงแหงนจะมีลักษณะแบนราบ แต่มีการลาดเอียงเทไปด้านใดด้านหนึ่งและมีเชิงชายรอบตัวบ้านเพื่อบังแดด บังฝน ส่วนมากนิยมใช้วัสดุเป็นเมทัลชีท กระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องหลังคาคอนกรีต เป็นต้น
ข้อดี
- สร้างง่าย รวดเร็ว
- ใช้งบไม่มาก
ข้อเสีย
- ป้องกันแดด ลม ฝนได้แค่ฝั่งเดียว
- รั่วซึมง่าย
- ระบายน้ำได้ไม่ดีหากออกแบบองศาการเอียงไม่เหมาะสม
หลังคาทรงผีเสื้อ (Butterfly Roof)
หลังคาทรงผีเสื้อเกิดจากการนำด้านต่ำของหลังคาทรงเพิงแหงน 2 หลังมาชนกัน ทำให้เกิดมุมองศาต่ำตรงกลางคล้ายปีกของผีเสื้อ ซึ่งหลังคาทรงผีเสื้อนี้ถือเป็นหลังคาที่มีความทันสมัย สร้างความแปลกใหม่และชูความเป็นเอกลักษณ์ให้กับบ้านได้ดี แต่หลังคารูปแบบนี้ยังพบเห็นได้น้อยมากในบ้านเรา เนื่องจากมักเกิดปัญหาเรื่องน้ำขังและรั่วซึมบริเวณที่หันมาชนกันหากช่างที่ทำไม่มีความชำนาญหรือมีปัญหาขยะอุดตัน แต่สามารถแก้ไขได้โดยการสร้างรางน้ำเพื่อรองรับน้ำฝนและช่วยระบายน้ำ
ข้อดี
- มีความสวยงาม แปลกตา
- น้ำหนักเบา
- โครงสร้างไม่ซับซ้อน ประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย
- เกิดน้ำขังได้ง่าย
- เกิดการรั่วซึมได้ง่าย
- หากมีน้ำขัง อาจทำให้หลังคากระเบื้องเป็นคราบดำคล้ายเชื้อราได้
หลังคาบ้านทรงจั่ว (Gable Roof)
เป็นรูปแบบหลังคาทรงมาตรฐานที่พบเห็นได้ทั่วไป หลังคาบ้านสวย ๆ มีความร่วมสมัยและเป็นที่นิยม เนื่องจากรูปทรงลาดเอียงของหลังคาถูกออกแบบมาเพื่อให้อากาศไหลเวียน ช่วยให้มวลอากาศเย็นเข้ามาช่วยระบายความร้อน ทำให้สามารถระบายความร้อนภายใต้หลังคาได้ดี เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นแบบประเทศไทย อีกทั้งหากวางทิศทางให้เหมาะสมยังรับลมได้ดีกับลมประจำถิ่นอีกด้วย
ข้อดี
- ก่อสร้างได้ง่าย
- ระบายความร้อนได้ดี
- ลดการรั่วซึมของน้ำ
ข้อเสีย
- ฝนอาจสาดเข้าตัวบ้านได้หากวางทิศตัวบ้านและหลังคาไม่เหมาะสม
- ไม่สามารถป้องกัน แดด ลม ฝนด้านหน้าจั่วได้
หลังคาบ้านทรงปั้นหยา (Hip Roof)
รูปทรงดูคล้าย ๆ กับทรงจั่ว แต่จะต่างกันที่หลังคาทรงปั้นหยาจะมีด้านลาดชัน 4 ด้าน และมักจะมีชายคาที่ยื่นออกไปปกคลุมตัวบ้าน ช่วยกันแดดและกันฝนได้ดี ด้วยรูปทรงที่มั่นคงของโครงสร้างที่ผสานกัน 4 ด้าน ทำให้หลังคาทรงปั้นหยา นอกจากจะเป็นหลังคาบ้านสวย ๆ ที่มีความคงทนแข็งแรง แต่ขณะเดียวกัน ในด้านการระบายอากาศและการรับลมจะทำได้ไม่ค่อยดีนัก จึงควรติดแผ่นฝ้าชายคาที่มีรูระบายอากาศ หรือเว้นร่องฝ้าชายคา เพื่อให้สามารถระบายอากาศใต้หลังคาได้ดีขึ้น
ข้อดี
- ก่อสร้างได้ง่าย
- มีความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ
- ป้องกันแดด ลม ฝนได้ดี
- ออกแบบง่าย เข้าได้กับบ้านหลากหลายสไตล์
- สามารถมองหลังคาได้จากรอบบ้าน หากพบจุดชำรุด สามารถซ่อมแซมได้รวดเร็ว
ข้อเสีย
- ระบายอากาศได้ไม่ดี
- เกิดการรั่วซึมได้ง่าย หากช่างไม่มีความชำนาญ
- ค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากใช้วัสดุมากและมีรูปแบบซับซ้อน
หลังคาบ้านทรงเรียบหรือหลังคาทรงแบน (Flat Roof)
หลังคาบ้านสวย ๆ ให้ความโมเดิร์นทันสมัย โดยเฉพาะในทาวน์เฮาส์และทาวน์โฮมซึ่งมีข้อดีของหลังคาทรงแบนคือ เป็นหลังคาบ้านสวย ๆ ให้รูปทรงแบบโมเดิร์นสวยงาม เหมาะกับบ้านเมืองสามารถใช้พื้นที่หลังคาในการทำประโยชน์ แต่ด้วยหลังคาทรงแบนทำด้วยคอนกรีตทำให้สะสมความร้อนไว้มากกว่าหลังคาในรูปแบบอื่น
ข้อดี
- ให้ความทันสมัย
- ก่อสร้างง่าย
- ใช้งบประมาณน้อย
- เพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับตัวบ้าน
ข้อเสีย
- รับความร้อนตลอดวัน อาจส่งผลให้ภายในตัวบ้านร้อนกว่าปกติ
- ระบายน้ำไม่ดี
- พื้นคอนกรีตเกิดการแตกร้าว รั่วซึมได้ง่าย
แต่เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น มีแดดจัดและฝนตกชุกตลอดทั้งปีดังนั้นควรเลือกหลังคาบ้านสวย ๆ ที่ช่วยระบายความร้อนได้ดี ได้แก่ หลังคาหลังจั่ว หลังคาทรงปั้นหยา และหลังคาทรงมะนิลา
สำหรับใครที่กำลังมองหาบริษัทรับดีไซน์ออกแบบบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านสไตล์นอร์ดิก สไตล์โมเดิร์น บ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น ปรึกษาเรา Homemax บริษัทรับออกแบบบ้านพร้อมสร้างบ้านให้คุณในราคาประหยัด ไม่ต้องหาหลายเจ้าให้วุ่นวายเพราะที่นี่ครบจบในที่เดียว โดยทีมสถาปนิกและวิศวกรมืออาชีพ สามารถติดต่อเราได้ที่ Homemax เราพร้อมให้บริการคุณ 24 ชม.